analyticstracking
หัวข้อ   “ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประชาชนพอใจเพียงใด
79.9% เห็นด้วยให้พรรคการเมืองเสนอชื่อ ส.ส.หรือคนนอกเป็นนายก ฯ ให้ทราบก่อนเลือกตั้ง
86.8% ตั้งใจจะออกมาใช้สิทธิ์ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมั่นใจว่าร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะขจัดทุจริตนักการเมือง และสร้างความปรองดองได้
ชี้มีประชาชนไม่ถึงครึ่งที่พอใจร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนเรื่อง “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประชาชนพอใจเพียงใด”
โดยเก็บ
ข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,198 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า
 
                  ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานกรรมการและมีการ
พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ซึ่งสื่อมวลชนได้นำเสนอในช่วงที่ผ่านมานั้น ผลสำรวจในประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน มีดังนี้
 
  ร้อยละ 86.2

เห็นด้วยกับประเด็น “กกต. สามารถแจกใบแดงระงับสิทธิ์
ผู้สมัคร ส.ส.ก่อนการ เลือกตั้งได้หากพบว่ามีการทุจริต”
  ร้อยละ 79.9


เห็นด้วยกับประเด็น “พรรคการเมืองจะต้องเสนอชื่อบุคคล
ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีให้ ประชาชนทราบล่วงหน้า
ก่อนมีการเลือกตั้ง โดยอาจจะเป็น ส.ส. หรือคนนอกก็ได้”
  ร้อยละ 77.6




เห็นด้วยกับประเด็น “การให้อำนาจองค์กรอิสระ 3 องค์กร
ได้แก่ กกต. / ป.ป.ช. / คตง. หารือร่วมกันเพื่อส่ง
ข้อตักเตือนไปยังคณะรัฐมนตรี กรณีที่พบว่าการดำเนินงาน
หรือนโยบายของรัฐบาล อาจจะสร้างความเสียหาย
แก่ประเทศในระยะยาว”
  ร้อยละ 52.4

เห็นด้วยกับประเด็น “วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รวมแล้วต้องไม่เกิน 8 ปี โดยจะเป็นกี่สมัยก็ได้ ”
 
                  เมื่อถามถึงความมั่นใจที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่เน้นเรื่อง “ขจัดทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมือง
และการซื้อสิทธิ์ขายเสียง”
ว่าจะสามารถบรรลุเจตนารมณ์ที่วางไว้ได้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 73.0 ระบุว่า
“ไม่ค่อยมั่นใจ”
ส่วนผู้ที่ระบุว่า “มั่นใจ” มีร้อยละ 24.0
 
                  ส่วนความมั่นใจที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าจะทำให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติได้
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 74.6 ระบุว่า “ไม่ค่อยมั่นใจ”
และมีเพียงร้อยละ 22.2 ที่ระบุว่า “มั่นใจ”
 
                  ด้านความตั้งใจออกมาใช้สิทธิ์ ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนพบว่า ร้อยละ 86.8
ตั้งใจจะออกมาใช้สิทธิ์ มีเพียงร้อยละ 2.0 เท่านั้นที่ตั้งใจจะไม่ออกมาใช้สิทธิ์ ที่เหลือร้อยละ 11.2 ยังไม่แน่ใจว่าจะออกมา
ใช้สิทธิ์หรือไม่
 
                  สำหรับความพึงพอใจที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในภาพรวม พบว่า ประชาชนร้อยละ 46.6
มีความพึงพอใจ
ขณะที่ร้อยละ 37.7 ไม่ค่อยพึงพอใจ
 
 
                 มีรายละเอียดดังนี้
 
             1. ความคิดเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในประเด็นต่อไปนี้
                

ประเด็น
เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่ค่อย
เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่ตอบ
(ร้อยละ)
กกต. สามารถแจกใบแดงระงับสิทธิ์ผู้สมัคร ส.ส.
ก่อน การเลือกตั้งได้ หากพบว่ามีการทุจริต
86.2
12.1
1.7
พรรคการเมืองจะต้องเสนอชื่อบุคคลที่จะเป็น
นายกรัฐมนตรี ให้ประชาชนทราบล่วงหน้า
ก่อนมีการเลือกตั้ง โดยอาจจะเป็น ส.ส.
หรือคนนอกก็ได้
79.9
17.3
2.8
การให้อำนาจองค์กรอิสระ 3 องค์กร ได้แก่ กกต.
/ ป.ป.ช. / คตง. หารือร่วมกันเพื่อส่งข้อตักเตือน
ไปยัง คณะรัฐมนตรี กรณีที่พบว่าการดำเนินงาน
หรือนโยบาย ของรัฐบาล อาจจะสร้าง ความเสียหาย
แก่ประเทศในระยะยาว
77.6
18.4
4.0
วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมแล้ว
ต้องไม่เกิน 8 ปี โดยจะเป็นกี่สมัยก็ได้
(ไม่มีผลย้อนหลัง)
52.4
40.4
7.2
 
 
             2. ความมั่นใจที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่เน้นเรื่อง “ขจัดทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมือง
                 และการซื้อสิทธิ์ขายเสียง” ว่าจะสามารถบรรลุเจตนารมณ์ที่วางไว้ได้


 
ร้อยละ
มั่นใจ
24.0
ไม่ค่อยมั่นใจ
73.0
ไม่ตอบ
3.0
 
 
             3. ความมั่นใจที่มีต่อ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าจะทำให้เกิดความสามัคคีปรองดองของคนในชาติได้
                

 
ร้อยละ
มั่นใจ
22.2
ไม่ค่อยมั่นใจ
74.6
ไม่ตอบ
3.2
 
 
             4. ความเห็นต่อการออกมาใช้สิทธิ์ หากมีการทำประชามติรับ/ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญ ของประชาชน
                

 
ร้อยละ
ตั้งใจจะออกมาใช้สิทธิ์
86.8
ตั้งใจจะไม่ออกมาใช้สิทธิ์
2.0
ยังไม่แน่ใจ ว่าจะออกมาใช้สิทธิ์หรือไม่
11.2
 
 
             5. ความพึงพอใจที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในภาพรวม
                

 
ร้อยละ
พอใจ
46.6
ไม่ค่อยพอใจ
37.7
ไม่ตอบ
15.7
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆ ตลอดจนความมั่นใจและความพอใจ
ที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงการออกมาใช้สิทธิ์หากมีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน
ให้สังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วง
น้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุ
คำตอบเองโดยอิสระ (Open Ended) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 19 -21 มกราคม 2559
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 23 มกราคม 2559
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
605
50.5
             หญิง
593
49.5
รวม
1,198
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
204
17.0
             31 – 40 ปี
273
22.8
             41 – 50 ปี
307
25.6
             51 – 60 ปี
265
22.1
             61 ปีขึ้นไป
149
12.5
รวม
1,198
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
788
65.8
             ปริญญาตรี
331
27.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
79
6.6
รวม
1,198
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
174
14.5
             ลูกจ้างเอกชน
268
22.4
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
478
39.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
66
5.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
149
12.5
             นักเรียน/ นักศึกษา
52
4.3
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
11
0.9
รวม
1,198
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776